วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เปิดลายแทงแก๊งลักรถ พื้นที่-เวลา-ยี่ห้อ-รุ่นนิยม

       แม้นายกฯ จะย้ำว่าราคาสินค้าอาหารไม่ได้แพงผิดปกติ แต่เสียงสะท้อนหรือโพลที่สำรวจประชาชน  ต่างยืนยันสวนทางชัดเจน  ดังนั้นในสภาวะที่บ้านเมือง เกิดปัญหาข้าวยากหมากแผง  ไม่ว่าจะยุคใดสมัยไหน? สิ่งที่ตามมาคือปัญหาการโจรกรรม  และรถยนต์ที่ปกติถือเป็นเป้าหมายอยู่แล้ว   ช่วงเวลานี้ผู้เป็นเจ้าของรถยิ่งต้องระมัดระวังมากกว่าเดิม  ดังนั้นการรู้จักเป้าหมายและนิสัยของโจร ทั้งเรื่องของยี่ห้อ-รุ่นรถยอดนิยม  หรือแม้แต่พื้นที่  ตลอดจนช่วงเวลาทองของนักโจรกรรมเหล่านี้ อย่างน้อยก็พอช่วยให้เจ้าของรถเตรียมรับมือได้มากขึ้น โดยเฉพาะเวลากลางวันหรือหัวค่ำที่คิดว่าปลอดภัย!
สถิติการโจรกรรมรถ 10 อันดับแรก ตามพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2547- ปัจจุบัน
       จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  พบว่าสถิติรถยนต์รับแจ้งหายทั่วประเทศ ในปี 2554 ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 1,720  คดี  แต่จับได้เพียง 259    ขณะที่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ตุลาคม 2554 - มีนาคม 2555 มีสถิติรับแจ้งรถหายมากถึง 892  คดี จับได้เพียง 131  ส่วนรถจักรยานยนต์แจ้งหายในปี 2554 จำนวน 12,775 ดคี จับได้ 2,713   และในปี 6 เดือนที่ผ่านมา รับแจ้งหาย 6,476  คดี  จับได้ 1,249   คลิกอ่านสถิติคดีอาญา
         
       ทั้งนี้ในส่วนของกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นขุมทองของบรรดาแก๊งลักรถ หรือเหล่านักโจรกรรมทั้งหลาย  มีรายงานจากศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปจร.น.)  จะพบว่าพื้นที่ยอดนิยมของแก๊งลักรถ หรือเหล่านักโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน  เขตบางกะปิจะเป็นขุมทรัพย์อันดับหนึ่ง ตามมาด้วยดินแดง และจตุจักร

      
 ขณะที่สถิติการโจรกรรมรถยนต์ในเขตนครบาล  พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554 ที่ผ่านมา มีการโจรกรรมรถยนต์ 502 คัน  โดยยี่ห้อ “โตโยต้า” ได้รับความนิยมจากนักโจรกรรมมากที่สุด 156 คัน ตามมาด้วยอีซูซุ 150 คัน และนิสสัน 53 คัน   ซึ่งแยกเป็นปิกอัพที่ถูกโจรกรรมมากจะเป็น โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้,  อีซูซุ ดีแมคซ์ และนิสสัน ฟรอนเทียร์  โดยเฉพาะรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ  และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ส่วนใหญ่จะเป็นโตโยต้า วีออส และยาริส
       
       ส่วนสถิติการโจรกรรมรถยนต์ในเขตนครบาล ช่วงเดือนตุลาคม 2554 - กุมภาพันธ์ 2555 พบว่า รถยนต์หาย 134 คน เป็นยี่ห้ออีซูซุมากที่สุด โดยเฉพาะปิกอัพรุ่นดีแมคซ์มากถึง 50 คัน, โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ 34 คัน และรุ่นไทรทัน 11 คัน ขณะที่รถยนต์นั่ง หรือเก๋ง  มากที่สุดยังคงเป็นโตโยต้า วีออส-ยาริส   ขณะที่ฮอนด้ามีรถหาย 9 คัน 

      
 สำหรับสถิติการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ดูแลของกองบัญชาการตำรวจนครบาล  พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554 มีรถหายไปจำนวน 3,509 คัน มากที่สุดเป็นยี่ห้อ “ฮอนด้า” จำนวน 2,021 คัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นเวฟ  รองลงมาเป็น “ยามาฮ่า” จำนวน 1,261 คัน หายมากที่สุดเป็นรุ่นฟีโน่ และตามมาด้วย “คาวาซากิ” 71 คัน  เป็นรุ่นเคเอสอาร์หายมากสุด และในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา สถิติการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ในเขตนครบาล 1,143 คัน ซึ่งยี่ห้อและรุ่นก็ไม่แตกต่างไปจากช่วงก่อนหน้านั้น
       ในส่วนของช่วงเวลาและสถานที่เกิดเหตุ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ถูกโจรกรรมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสถิติย้อนไปตั้งแต่ปี 2553 (ดูภาพประกอบ) จนมาถึงปัจจุบัน แทบจะไม่แตกต่างกันเลย  โดยส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลากลางคืน 18.00 -04.00 น.  และเป็นที่น่าสังเกตว่าบรรดาเหล่านักโจรกรรม  กลับไม่ชอบขโมยรถในช่วงยามวิกาล  ซึ่งจากสถิติเลือกเวลาที่คนพลุกพล่านช่วงหัวค่ำถึงกลางดึก ตั้งแต่เวลา 18.00 -24.00 น.  ยิ่งในปี 2554 ที่ผ่านมา  ถึงกับเลือกช่วงเวลามากที่สุด  16.01 - 20.00 น.   และรองลงมา 20.01 - 24.00 น.  ขณะที่ในช่วงเวลา  00.01 -04.00 น. กลับน้อยกว่าครึ่ง
      
 อย่างไรก็ตาม  สถิติช่วงเวลารถยนต์และรถจักรยานยนต์หาย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา  ยิ่งน่าตกใจมากขึ้นไปอีก เพราะบรรดานักโจรกรรม เลื่อนเวลาขโมยรถมาเป็นช่วงเวลากลางวันมากขึ้น โดยช่วงเวลา 12.01-18.00 น.  เกิดเหตุมากที่สุด   ยิ่งรถจักรยานยนต์เล่นกันตั้งแต่เช้า 06.01-12.00 น. (รองลงมาจากช่วงเที่ยง-หัวค่ำ) กันเลย  ขณะที่รถยนต์ช่วงเวลารองลงมาจะเป็น 18.01-24.00 น. 
         
       ด้านสถานที่เกิดเหตุรถยนต์และรถจักรยานยนต์ถูกโจรกรรมมากที่สุด  จะเป็นที่จอดอยู่ตามถนน-ตรอก-ซอยมากที่สุด  รองลงมาจะเป็นสวนสาธารณะและชุมชนต่างๆ   จากนั้นจะเป็นเคหะสถาน  บ้านเช่า หรือห้องเช่า    นอกจากนั้นจะเป็นตามห้างสรรพสินค้า และอู่ซ่อมรถ หรือแม้แต่สถานที่ราชการ 

         
       
 
     
  จากสถิติการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์  จะเห็นว่าช่วงที่น่าปลอดภัยสุด กลับเป็นช่วงที่เสี่ยงที่สุด  ดังนั้นการข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการลักรถดังกล่าว จึงน่าจะทำให้ผู้เป็นเจ้าของรถระมัดระวังได้มากยิ่งขึ้น… 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีป้องกันรถหาย


วิธีป้องกันรถหาย
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์  กองบัญชาการตำรวจนครบาล
1. ล็อคมันไว้  Lock it
- ล็อคกุญแจ ไม่ว่าจะในบ้าน-นอกบ้าน จอดนาน-ไม่นาน รถที่ล็อคมีโอกาสหายน้อยลง 3.55 เท่า และรถที่หายส่วนหนึ่งมีกุญแจ แต่ลืมล็อค
- ใช้ที่ล็อครถอย่างน้อย 2 ระบบที่ใช้กลไก หรือรูปแบบการป้องกันไม่เหมือนกัน ต่างยี่ห้อกันมาใช้
- ล็อครถชนิดที่มีลักษณะเป็นวงรอบ (Disc lock) หรือล็อคตัวยู (U-lock) จะดีกว่าแบบคีบหรือหนีบ (Fork lock)...
- ใช้โซ่ล่ามไว้กับเสา หรือสิ่งที่ยึดติดกับพื้นดีกว่าไม่ใช้โซ่
- ล็อคกุญแจหรือโซ่ให้แน่นมีโอกาสหายน้อยกว่าล็อคหลวมๆ (ยิ่งหลวมยิ่งตัดหรือทุบได้ง่ายขึ้น) ...
- การทำระบบป้องกันขโมยรถยนต์แบบทำเอง เสริมเข้าไปอีกช่วยได้มาก แต่ควรใช้ร่วมกับระบบล็อคทั่วไปด้วยเสมอ เช่น จากล็อค 2 ระบบเพิ่มเป็น 3-4 ระบบ  
- ถ้าซื้อรถใหม่ (ไม่ว่าจะมือ 1 หรือ 2)... ต้องเปลี่ยนระบบกันขโมยใหม่เสมอ ระบบกันขโมยที่ติดตั้งก่อนซื้อรถอาจถูกทำสำเนากุญแจไว้แล้ว
2. ปกปิดมันไว้  Cover it
- ก่อนให้ใครเข้ามาใกล้บ้าน หรือเข้ามาในบ้านต้องปกปิดทรัพย์สินมีค่าเสมอ
- ระวังพวกที่ชอบสอดรู้สอดเห็น เช่น พนักงานติดตั้งเครื่องไฟฟ้า หรือคนงานสำนักงานที่ชอบถามเรื่องซอกแซกในบ้าน ฯลฯ มักจะเป็นสายให้โจร หรือเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ ... 
- อย่าทำตัวรวย เช่น ใส่ทอง ทำตัวหรู ฯลฯ หรือจอดรถไว้ให้คนที่ผ่านหน้าบ้านเห็นได้ง่าย... ควรหาผ้าคลุมแบบราคาไม่แพงมาคลุมไว้(ถ้าทำได้) โดยเลือกผ้าคลุมแบบราคาไม่แพง ยิ่งแพงยิ่งเสี่ยง ...
- ไม่ควรวางสิ่งของมีค่าไว้ในรถยนต์ หากจำเป็นควรเก็บซุกซ่อนให้มิดชิด ไม่ควรวางไว้ที่เบาะนั่ง เพราะจะเป็นการล่อให้คนร้ายกระทำความผิด
3. พิจารณาติดตั้งเครื่องกันขโมยแบบส่งเสียงดัง Consider an alarm
- เครื่องกันขโมยแบบนี้จะใช้ได้ดีต้องมีเสียงแปลกๆ ไม่เหมือนแตรค้าง 
- ระบบเตือนภัยขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้เรื่องนี้จะยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน(อาจเป็นเพราะราคาแพง)...  แต่ในอนาคต จะมีการเชื่อมโยงระบบดังกล่าวกับแผนที่ดาวเทียม GPS เพื่อระบุพิกัดให้ตำรวจติดตามได้ทันที...
4. อย่าโชว์ความรวยหรู Don't be a show-off
- จอดรถไว้ในบ้าน ปิดประตูรั้ว และล็อครั้วบ้านเป็นประจำ... อย่าจอดรถโชว์ไว้หน้าบ้าน
- อาจารย์ท่านกล่าวไว้ดี คือ "It's simple: The more your bike is out of sight, the more it's out of a thief's mind." = "หลักการง่ายๆ คือ อะไรที่อยู่นอกสายตา (รถ) ก็จะอยู่นอกหัวใจขโมย" ...
5.  เสริมรั้วให้แข็งแรง Reinforce your garage
- ควรใช้รั้วที่แข็งแรง ติดสัญญาณกันขโมยรั้วไว้ด้วย (ที่รถก็ติด... ที่รั้วก็ติด)
- ถ้าใช้รถมอเตอร์ไซค์... ให้ทำห่วงยึดติดไว้กับพื้น แล้วล่ามโซ่หนักๆ ยึดรถติดไว้กับพื้นด้วย ล็อคกุญแจหลายๆ ระบบด้วย ...
- ควรติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด หรือระบบความปลอดภัยทั้งในตัวบ้านและโรงรถ(ถ้าเป็นไปได้) และติดตั้งเครื่องกีดขวาง เช่น ถังที่เวลาเลื่อนจะเกิดเสียงดัง ฯลฯ ขวางไว้อีกชั้นหนึ่ง ... 
6. ทำให้รถใช้การไม่ได้ (ชั่วคราว) Disable your bike or car
- คนที่ชำนาญเรื่องช่างอาจถอดอุปกรณ์รถง่ายๆ เช่น ถอดฟิวส์ (Fuse) รถออก ทำสัญญาณตัดไฟ (ชนิดทำเองมีแนวโน้มจะได้ผลดี โดยเฉพาะถ้าคิดแบบที่โจรทั่วไปไม่รู้จักได้) ฯลฯ เก็บไว้กับตัวก่อนจอดรถทิ้งไว้
- โจรและขโมยส่วนใหญ่ก็คล้ายกับนักลงทุนทั่วไป คือ มักจะชอบอะไรที่ "ง่ายๆ" มากกว่า "ยากๆ" และจะเลือกรถที่ขโมยได้ง่ายกว่าในเวลาเท่าๆ กันเสมอ ...
7. เลือกที่จอดรถให้รอบคอบ Choose parking spots carefully
- อย่าจอดรถในจุดอับสายตา โจรและขโมยจะทำงานได้ง่ายขึ้น
- เลือกจอดใกล้ๆ จุดที่มีคนอยู่ประจำแทนการจอดไกลๆ หรือฝากรถไว้ถ้าเป็นไปได้ และจอดในที่ที่มีแสงไฟสว่างพอ
- ถ้ามีรถคันอื่นขับตาม... ควรพิจารณาเปลี่ยนแผนการเดินทาง และรีบไปยังที่ที่ปลอดภัยทันที
- ถ้าฝาที่เติมน้ำมันชนิดที่ต้องใช้กุญแจไขหาย... ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า ถูกปั๊มกุญแจไปแล้ว...
8. ระวังพวกขอลองรถ Be wary of test rides
- เราซื้อหรือผ่อนรถมาใช้ ไม่ใช่ให้คนอื่นลองขับ เพราะฉะนั้นอย่าให้ใครมาขอลองขับรถของเรา
- ถ้าขอดูรถซื้อขาย, หรือ นัดพบในที่เปลี่ยว ให้ระวัง
- ควรฝึกล้างรถด้วยตนเอง... การให้พนักงานล้างรถ "ลองขับ" รถตอนนำรถไปทำความสะอาดเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรลอง เพราะอาจถูกก๊อปปี้กุญแจ ทำสำเนาสัญญาณกันขโมย และขโมยรถในเวลาต่อมาได้
- ถ้าจำเป็นต้องใช้บริการล้างรถ หรือศูนย์บริการ... ควรให้กุญแจไปน้อยดอกที่สุด และให้เฉพาะกุญแจรถดอกเดียว อย่าให้กุญแจล็อคระบบอื่นๆ และอย่าให้กุญแจบ้าน เพราะจะเสี่ยงของในบ้านหาย ...
- เมื่อนำรถไปซ่อม ควรเฝ้าดู และรอรับรถกลับ หากต้องฝากรถไว้ ให้เลือกอู่ที่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไว้ใจได้
9. ทำร่องรอยไว้ Mark your territory
- ขโมยรถอาจนำรถไปขายทั้งคัน หรือถอดขายเป็นชิ้นๆ... การจดหมายเลขเครื่อง (ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลไว้ก่อน) และชิ้นส่วนต่างๆ ไว้
- การติดชื่อหรือเครื่องหมายไว้ซ่อนไว้ในที่พิเศษในรถอาจช่วยให้ตำรวจติดตามรถได้ดีขึ้น ..
- บริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่ายรถยนต์ที่พัฒนาระบบกันขโมยรถยนต์ได้ดีมีแนวโน้มจะได้รับความเชื่อถือมากขึ้นในระยะยาว เช่น ศูนย์บริการรถของตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ ควรมีระบบตรวจสอบว่า รถคันนี้ขโมยมาหรือไม่เสมอ ฯลฯ
10. ลดความเสี่ยง
- การเลือกรถรุ่นที่ "ดีอันดับสอง" จะช่วยให้ประหยัด มีเงินเหลือไว้เติมน้ำมัน หรือทำประกันรถหายได้
- การใช้รถยี่ห้อหรือรุ่นที่โจรชอบน้อยลงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยป้องกันรถหายได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งติดตามสอบถามได้จากเว็บไซต์ของตำรวจไทย  ...
- นอกจากนั้นการที่เพื่อนบ้านจะช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยกันเฝ้าบ้าน หรือรวมกลุ่มกันจ้างทีมงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ไว้ช่วยอีกแรงหนึ่งก็ช่วยลดความเสี่ยงได้มากเช่นกัน ...
11. การขายดาวน์รถ
                - ดาวน์รถมาเพื่อขับขี่เท่านั้น ไม่นำไปให้ผู้อื่นเช่า  หรือขายดาวน์ โดยทำสัญญาโอนลอย วิธีขายดาวน์ที่ถูกต้อง ต้องพากันไปเปลี่ยนสัญญาซื้อขายที่ไฟแนนท์เท่านั้น
                - ระมัดระวังแก๊งหลอกซื้อดาวน์ จะปลอมแปลงเอกสารบัตรประชาชน และว่าจ้างให้บุคคลอื่นมาขอซื้อดาวน์แทน  แล้วเชิดนำรถหนีไป
12. เมื่อรถหายทำอย่างไร
- แจ้งผ่านทางสายด่วน 1599 หรือ ทางเวปไซต์ www.lostcar.go.th  ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลรถหาย ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อติดตามรถที่ถูกโจรกรรมหรือ สามารถตรวจสอบรถว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาหรือไม่
                - แจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด
13. ทำประกันภัยภาคสมัครใจ
                - ทำประกันภัยรถหายไว้ หากรถหายก็ยังมีค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยมาช่วยบรรเทาความเสียหาย (เค้าทำกันทั่วโลกแล้ว เหลือบ้านเรานี่แหละไม่ค่อยทำกัน)
                - ไม่ควรยินยอมให้เด็กหรือเยาวชน ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ หรือยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ นำรถไปใช้ 


http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRup_wOZigfFEIYhjxi2wA-hrdHacBzD6KFHMgDIqok9Pxja8AyYwhttp://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRup_wOZigfFEIYhjxi2wA-hrdHacBzD6KFHMgDIqok9Pxja8AyYwhttp://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSeDID-XcbIfLquJKAvVEF6x9G_K10avdRXVim34sFU7oKbgc40
ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์  กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปจร.น.)  หรือ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บก.สส.บช.น.
71/1 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02-354-5162

วีธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และแจ้งเหตุรถหายไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุ (lostcar) 1599
จัดทำโดย ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์  กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปจร.น.)


วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

การดูแลรักษารถเบื้องต้น


การดูแลรักษารถเบื้องต้น


ในระบบสตาร์ทรถยนต์โดยทั่วไป ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลที่กุญแจสตาร์ทจะต้องบิดกุญแจ 3 จังหวะ คือ AC , ON และ START ผู้ขับขี่บางท่านอาจจะปิดกุญแจรวดเดียว 3 จังหวะไปที่ START ถ้ารถท่านเป็นรถใหม่ก็อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ารถท่านผ่านการใช้งาน
มานาน ๆ อาจต้องสตาร์ทหลายครั้งก่อนที่เครื่องยนต์จะติด ซึ่งระหว่างที่ท่านสตาร์ทรถหลาย ๆ ครั้งนั้น ท่านกำลังทำลายระบบสตาร์ทให้อายุการใช้งานสั้นลง วันนี้เรามีคำแนะนำการสตาร์ทรถที่ถูกวิธี ท่านจะไม่ต้องมานั่งสตาร์ท แชะ แชะ แชะ ให้เสียฟอร์ม และยังเป็นการยืดอายุระบบสตาร์ทให้ใช้งานได้ ดีอีกนานแสนนาน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

                                 

  1. ปิดอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟทั้งหมดในรถ เช่น เครื่องปรับอากาศไฟหน้า และเครื่องเสียงต่าง ๆ เพื่อให้แบตเตอร์รี่จ่ายไฟเต็มที่
  2. เหยีบครัชให้สุด (สำหรับเกียร์ AUTO ให้เข้าเกียร์ที่ตำแหน่ง N หรือ P เพื่อผ่อนแรงมอร์เตอร์สตาร์ท
  3. บิดกุญแจมาที่ตำแหน่ง ON ค้างไว้ ตราวจเช็คไฟเตือนต่าง (รายละเอียดให้ศึกษาจากคู่มือรถ) รอจนไฟเตือนหัวเผารูปขดสปริงเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีเขียว หากเครื่องยนต์เย็นควรกดแป้นคันเร่ง 1 ครั้ง
  4. บิดกุญแจสตาร์ทเท่านี้คุณก็ไม่ต้องนั่งเสียฟอร์มสตาร์ทรถ แชะ แชะ แชะแล้ว
ขอให้ทำจนเป็นนิสัยไม่ว่ารถเก่าหรือรถใหม่ หากทำตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลให้ ท่านนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมระบบไฟไดชาร์ท ไดสตาร์ทโดยทั่วไป

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

7 วิธีขับรถให้ประหยัดในหน้าฝน

7 วิธีขับรถให้ประหยัดในหน้าฝน




ในฤดู ฝน..ขับรถยังไงให้ประหยัดและปลอดภัย ก็ฝนกำลังตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา 
ในหน้าฝนแบบนี้เราจึงนำ7 วิธี ขับรถให้ประหยัด ในช่วงหน้าฝนมาบอกกัน
ช่วง นี้อาจจะต้องทำใจกันหน่อย หากรถจะติดมากกว่าเดิม ด้วยเพราะฝนที่ตกลงมา 
นอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นอีกด้วย 
โดยเฉพาะช่วงนี้ราคาน้ำมันค่อนข้างแพง ทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องแบกรับภาระจาก
ผลกระทบของราคาน้ำมัน ลองนำ 7 วิธี นี้ไปใช้ เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันในช่วงฤดูฝน

1. หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาหลังฝนตกใหม่ๆ โดยหันมาใช้การติดต่อกันทางโทรศัพท์ อีเมล์ หรือหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดินแทนก็จะสะดวกและประหยัดน้ำมัน ทั้งยังช่วยลดปัญหาการจราจร ที่ติดขัดอีกด้วย


2. ตรวจเช็คเครื่องยนต์ให้พร้อมก่อนเดินทาง หากมีความจำเป็นต้องเดินทางช่วงฝนตก ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์เป็นพิเศษ เพราะหากรถดับหรือเสีย ขณะการเดินทางจะทำให้เสียเวลาและทำให้การจราจรติดขัดยิ่งขึ้น


3. ตรวจเช็คเส้นทางให้พร้อมก่อนเดินทาง โดยเลือกเส้นทางการจราจร ที่ใกล้ที่สุดหรือตรวจสอบเส้นทางได้จากรายการวิทยุ สวพ.91 จส.100 หรือโทร.1197 เพื่อให้ไปถึงจุดหมายโดยใช้ระยะทางที่ใกล้ไม่หลงทาง ช่วยทำให้ประหยัดน้ำมัน และควรเตรียมหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานบริการช่วยเหลือกรณีรถเสียระหว่าง ทาง เช่น สถานีวิทยุชุมชน ร่วมด้วยช่วยกัน 1167


4. ตรวจเช็คลมยางและสภาพยางให้ได้มาตรฐาน โดยตรวจเช็คลมยางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะหากลมยางต่ำกว่ามาตรฐานจะทำให้การขับขี่สิ้นเปลืองน้ำมันประมาณร้อยละ 2 และหากสภาพยางไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลงซึ่งอาจส่งผลให้ เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน


5. ตรวจเช็คผ้าเบรก เพราะช่วงหน้าฝนถนนลื่นกว่าปกติทำให้ต้องแตะเบรกบ่อยครั้ง โดยผู้ขับขี่ควรสังเกตจากเสียงขณะเบรก หรือเบรกแล้วรถไม่หยุดในระยะปกติซึ่งทำให้เปลืองน้ำมันประมาณวันละ 400 ซีซี ฉะนั้นผู้ขับขี่ควรเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน


6. ตรวจเช็คความเร็ว หากใช้ความเร็วสูงเกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะขับรถจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันประมาณร้อยละ 10-25 ดังนั้นควรขับรถความเร็วที่ระดับ 80-90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อลดอุบัติเหตุและช่วยประหยัดน้ำมัน


7. ตรวจเช็คความเย็น ลดอุณหภูมิโดยไม่ปรับแอร์ในรถให้เย็นเกินไป เพราะหน้าฝนอากาศเย็น และควรปิดแอร์ก่อนถึงที่หมาย 2-3 นาที ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ 30 ซีซี แต่หากไม่ใช้แอร์เลยตลอดการเดินทาง 20-30 นาที จะประหยัดน้ำมันได้ 300 ซีซี
ถ้าผู้ใช้รถทุกท่านปฏิบัติได้ ทั้ง 7 วิธี ที่กล่าวมานี้ รับรองได้ว่านอกจาก ประหยัดน้ำมันแล้ว ยังช่วย
ประหยัดในกระเป๋า และยังช่วยให้ขับขี่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สุดยอดเทคนิคกันขโมยรถยนต์แบบขำๆ


.... ล๊อคกันขโมย(รถ) ระดับเทพ!!! สุดยอดเทคนิค
ขโมยเมืองไทย เห็นแล้วจะหนาวว ....
กันขโมยรถยนต์หายแบบขำๆ
  

(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต)

ขอรวบรวม เทคนิค ไอเดีย จากนานา สาระพัดประเทศ
ที่ดูแล้ว เห็นว่า "ขั้นเทพ" มานำเสนอแก่เพื่อนๆ
ขโมยเมืองไทย เห็นแล้วคงหนาวว แน่ เพราะแต่ละเทคนิค ยังไม่มีในตำรา(โจร)



 
ยังงี้ ล้อก็ไม่หมุน ไม่หมุน ก้อขโมยรถผมไปม่ายด้าย .. ฮ่า




แบบนี้แน่กว่า ลองอย่างนี้ ใครขืนขับไปกลางถนน ตำรวจเขาก็รู้



นี่.. ต้องอย่างนี้ เอาหม้อครอบพวงมาลัยมันเลย แล้วดูซิขโมยจะขับยังไง



รายนี้ ผูกไว้กับต้นไม้ .. อยากขโมยให้ขโมยไปพร้อมต้นไม้ .. ฮ่า ฮ่า




 นี่แน่กว่า... ใครล๊อคใคร ..ดูไม่ออก


ล่ามมันไว้ กับฝาครอบท่อน้ำอย่างนี้แหละ ใครจะขโมย..

 
ปิดท้ายรายการ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รายงานสถิติการโจรกรรมรถยนต์


(ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์)
พล.ต.ต.เมธี กุศลสร้าง รอง ผบช.น. หัวหน้า ศปจร.น. (ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์  กองบัญชาการตำรวจนครบาล) เปิดเผยสถิติการโจรกรรมรถยนต์ 
ในพื้นที่ กทม.

ระหว่างเดือน ต.ค.2553 ถึง ก.ย. 2554  มีดังนี้


รถยนต์ทุกยี่ห้อถูกโจรกรรมทั้งสิ้น 502 คัน  ประกอบด้วย
ยี่ห้อโตโยต้า       156 คัน คิดเป็น 31.08%
ยี่ห้ออีซูซุ           150 คัน คิดเป็น 29.9 %
ยี่ห้อนิสสัน            53 คัน คิดเป็น 10.6%
ยี่ห้อมิตซูบิชิ          41 คัน คิดเป็น 8.2 %
ยี่ห้อฮอนด้า           39 คัน คิดเป็น 7.8 %
ยี่ห้ออื่นๆ              63 คัน
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ประเภทรถเก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า พบว่าส่วนใหญ่เป็นรุ่นวีออส และยารีส
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือกระบะ ยี่ห้อโตโยต้า จะเป็นรุ่นไฮลักซ์ วีโก้ ยี่ห้ออีซูซุจะเป็นรุ่นดีแม็กซ์ ยี่ห้อนิสสัน รุ่นฟรอนเทียร์ โดยเฉพาะที่เป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ

สำหรับสถานที่เกิดเหตุที่รถยนต์ถูกโจรกรรมมากที่สุด เรียงตามลำดับ
ถนน – ตรอก – ซอย        เกิดเหตุ 232 คดี
สวนสาธรณะ-ชุมชน         เกิดเหตุ 145 คดี
เคหสถาน                     เกิดเหตุ 71 คดี
ห้างสรรพสินค้า-ร้านค้า      เกิดเหตุ 30 คดี
อู่ซ่อมรถยนต์                 เกิดเหตุ 15 คดี

สำหรับช่วงเวลาที่เกิดเหตุรถยนต์ถูกโจรกรรมมากที่สุด
ระหว่างเวลา 18.00-04.00 น.  แยกเป็น
ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. เกิดเหตุ 137 คดี
ช่วงเวลา 20.01-24.00 น. เกิดเหตุ 121 คดี
ช่วงเวลา 00.01-04.00 น. เกิดเหตุ 103 คดี
ช่วงเวลา 08.01-12.00 น. เกิดเหตุ 48 คดี
ช่วงเวลา 04.01-08.00 น. เกิดเหตุ 47 คดี


…………………………………………………………………………………………………..

สถิติรถยนต์หายตั้งแต่ เดือน ต.ค.54 – ก.พ. 55

รถยนต์หายจำนวน 134 คัน  เป็น
ยี่ห้ออีซูซุ โดยเฉพาะรุ่น ดีแมกซ์ 50 คัน
โตโยต้า รุ่นไฮลักซ์ วีโก้ 34 คัน
มิตซูบิชิ รุ่นไทตั้น 11 คัน
ฮอนด้า 9 คัน
นิสสัน รุ่นฟรอนเทียร์ 6 คัน  รุ่นอื่นๆ  24 คัน

สถานที่เกิดเหตุ ที่ถูกโจรกรรมมากที่สุด
ถนน-ตรอก-ซอย 70 คดี
เคหสถาน 13 คดี
อาคาร-ลานจอดรถ 7 คดี
อาคารชุด – แฟลต 6 คดี
สะพานคนข้าม 3 คดี

ช่วงเวลาที่รถยนต์หายมากที่สุด
ช่วงเวลาที่หาย 12.01-18.00 น.เกิดเหตุ 56 คดี
ช่วงเวลา 06.01-12.00 น.เกิดเหตุ 48 คดี
ช่วงเวลา 18.01-24.00 น.เกิดเหตุ 24 คดี
ช่วงเวลา 00.01-06.00 น.เกิดเหตุ 6 คดี

…………………………………………………………………………………………………..


(ขอบคุณข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ / mpblostcar.com / Mthai News)

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

เส้นทางเลียงรถติดสงกรานต์

ใกล้เทศกาลสงกรานต์เข้ามาทุกที สำหรับเพื่อนที่ต้องเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด

เรามีเส้นทางเลี่ยงรถติดวันสงกรานต์มาแบ่งปันกันคะ

ทางหลวง, สงกรานต์

นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อเยี่ยมญาติ หรือ เดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวต่างจังหวัด และเดินทางพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก มักจะก่อให้เกิด ปัญหาการจราจรติดขัด รวมทั้งเกิดอุบัติเหตุในเส้นทางหลวงสายหลัก ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้การเดินทางของประชาชนรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวงขอแนะนำเส้นทางลัดในการเดินทางไปสู่ภาค ต่าง ๆ ของประเทศ ดังนี้

เส้นทางเลี่ยงรถติด วันสงกรานต์ : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เส้นทางที่ 1 ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 31) หรือใช้ทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ต่อสายอุตราภิมุข เข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ถึงต่างระดับบางปะอิน เข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) มุ่งสู่อ่างทาง เพื่อเดินทางสู่ ภาคเหนือ หรือเข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข1) มุ่งสู่สระบุรีเพื่อไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เส้นทางที่ 2 จากถนนรัตนธิเบศร์ (ทางหลวงหมายเลข 302) ใช้ถนนบางบัวทอง – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เลี้ยวขวาเข้าถนนวงแหวนตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 9) จนถึงต่างระดับบางปะอินแล้วใช้ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข1) มุ่งสู่สระบุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือใช้ถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เพื่อไปภาคเหนือ

เส้นทางที่ 3 จากถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงหมายเลข 302) ใช้ถนนบางบัวทอง – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ผ่านสุพรรณบุรีไปสู่ชัยนาทเข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) ไปสู่ จ.นครสวรรค์เพื่อไป ภาคเหนือ

เส้นทางที่ 4 จากถนนรามอินทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) ใช้ถนนต่างระดับลำลูกกา (ทางหลวงหมายเลข 9) ถึงแยกพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) เลี้ยวขวาเพื่อเดินทางสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเลี้ยวซ้ายไปต่างระดับบางปะอิน เข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข32) เพื่อสู่ ภาคเหนือ

เส้นทางที่ 5 จากบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (ทางหลวงหมายเลข304) ห้าแยกปากเกล็ด ใช้ถนนติวานนท์ (ทางหลวงหมายเลข 306) เลี้ยวขวาข้ามถนนบางพูน – บางปะหัน (ทางหลวงหมายเลข 347) ผ่านต่างระดับเชียงรากน้อยจนบรรจบถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) ที่ อ.บางปะหัน แล้วเดินทางไป ภาคเหนือ หรือเข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เส้นทางที่ 6 จากต่างระดับรังสิต ไปตามถนนรังสิต – องครักษ์ (ทางหลวงหมายเลข305) ผ่านทางต่างระดับธัญบุรี ตรงไปจังหวัดนครนายก, กบินทร์บุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เส้นทางที่ 7 จากถนนรามอินทรา ใช้ถนนรามอินทรา – สุวินทวงค์ (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่านฉะเชิงเทรา, พนมสารคาม, กบินทร์บุรี, ปักธงชัย เข้าสู่ถนนมิตรภาพ (สาย 2) ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เส้นทางสู่ ภาคตะวันออก

เส้นทางที่ 8 ไปตามถนนบางนา – บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34) จนถึง กม.39 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนกรุงเทพ – ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 7) ที่ต่างระดับบางควาย มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก

เส้นทางที่ 9 จากถนนศรีนครินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 3344) ใช้ทางหลวงพิเศษกรุงเทพ – ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข7) มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก

เส้นทางที่ 10 จากถนนรามอินทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) ใช้ถนนสุวินทวงศ์ (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่าน จ.ฉะเชิงเทรา เข้าทางหลวงหมายเลข 314 แล้วใช้ทางหลวงพิเศษกรุงเทพ – ชลบุรี (สาย 7) มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก

เส้นทางเลี่ยงรถติด วันสงกรานต์ : ภาคใต้

เส้นทางที่ 11 ใช้ถนนธนบุรี – ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35 : ถนนพระราม 2) เข้าถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เดินทางสู่จังหวัด ภาคใต้

เส้นทางที่ 12 ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม,โพธาราม จ.ราชบุรี เพื่อเข้าสู่จังหวัดภาคใต้

เส้นทางที่ 13 จากขนส่งสายใต้ใหม่ ใช้ถนนบางกอกน้อย – นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) เข้านครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี สู่จังหวัดภาคใต้

ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการสอบถามข้อมูล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2345 6530 หรือสายด่วนกรมทางหลวง 1586 หรือมีเหตุด่วนเหตุร้าย เดินทางไม่สะดวก สามารถแจ้งได้ตามหมายเลขโทรศัพท์ ดังนี้
สายด่วนกรมทางหลวง 1586
ศูนย์อำนวยการปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง กรมทางหลวง 0 2354 6832 – 39
หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ – ชลบุรี (สายใหม่) 0 3857 7852 – 3
หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน – บางพลี) 0 2509 6832
ตำรวจทางหลวง 1193

credit : Mthai News